
ประเทศไทยถือว่าเป็นเป็นอาณาจักรที่มีความเป็นมายาวนานหลาย ๆ ร้อยปี ก่อนที่โลกของเราจะรู้จักเครื่องเสียงเสียอีก ซึ่งแน่นอนว่าการจะรวมเป็นสังคมขนาดใหญ่จนกลายมาเป็นประเทศได้นั้นต้องมีส่วนประกอบมากมายช่วยหล่อหลอมไม่ว่าจะเป็น วัฒนธรรม การเมือง ศาสนา และความเป็นอยู่ด้านต่าง ๆ
ซึ่งในปัจจุบันโลกโลกาภิวัตน์ได้ทำให้สภาพแวดล้อมโดยรวมของประเทศไทยเป็นสากลขึ้น ความเป็นอยู่ของประชาชนโดยรวมเปิดรับเอาแนวทางจากฝั่งตะวันตกมา ซึ่งถ้าหากเรามองย้อนกลับไปตัวเราที่เป็นคนไทยอาจหลงลืมความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษเรา ครั้งนี้เราจะมาย้อนดูวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตกัน
ย้อนกลับไปในช่วงยุคอาณาจักรสุโขทัยในช่วงปี พ.ศ. 1792 ถึง พ.ศ. 1981 การเมืองในสมัยนั้นประชาชนจะอยู่ในระบอบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นเหมือนพ่อและประชาชนเป็นเหมือนลูก โดยหลักการปกครองจะนำพระพุทธศาสนามาประกอบใช้ที่เรียกว่าธรรมราชา
ด้านเศรษฐกิจการทำมาหากินนั้นประชาชนทุกคนมีอิสระในกรอบที่ไม่เป็นอันตรายต่อบ้านเมือง เช่นการค้าขายสินค้าไปจนถึงการปลูกพืชทำเกษตรกรรม โดยใช้เงินพดด้วงในการแลกเปลี่ยน
สังคมโดยรวจะไม่ใหญ่มากเพราะว่าในตอนนั้นประชาชนยังมารวมในอาณาจักรได้ส่วนหนึ่งที่เหลืออาจจะตั้งรกรากอยู่ในป่าหรือชานเมือง มีชนชั้นที่อย่าง กษัตริย์ และ ขุนนาง ปกครองดูแลชนชั้นประชาชนอย่าง ราษฎร และ ทาส ส่วน พระสงฆ์ เป็นชนชั้นที่เป็นหลักยึดเหนี่ยว ซึ่งพระพุทธศาสนาในยุคนั้นเฟื่องฟูและเป็นศูนย์รวมจิตใจ
ในยุคสมัยของอาณาจักรอยุธยา พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 นั้นการปกครองได้เปลี่ยนมาเป็นแบบพระมหากษัตริย์เป็นเหมือนสมมุติเทพมีกฏที่เรียกว่ามณเฑียรบาลทำให้พระมหากษัตริย์จะไม่ได้มาใกล้ชิดกับประชาชนมากนัก แต่ยังคงใช้ธรรมราชาในการปกครองแผ่นดินอยู่
การค้าขายและระบบเศรษฐกิจนั้นประชาชนสามารถขายสินค้ารวมถึงทำเกษตรกรรมได้อย่างอิสระในระดับหนึ่ง แต่ก็มีการผูกขาดสินค้ากับท้องพระคลัง สินค้าที่มาจากต่างประเทศเช่นจากฝั่งตะวันตกจะขายให้เฉพาะกับพระราชสำนักและขุนนางแต่ก็ถือเป็นยุคที่มีการติดต่อซื้อขายกับประเทศอื่น ๆ ค่อนข้างกว้างขวางถึงแม้ยังไม่มีสินค้าทันสมัยอย่างเครื่องเสียงเข้ามา แต่ก็มีเครื่องดนตรีจากประเทศอื่น ๆ เข้ามาเผยแพร่ มีกรมท่าคอยควบคุมการนำเข้าและเรียกเก็บภาษีอย่างเป็นเรื่องเป็นราว
สังคมในตอนนั้นมีหลายช่วงที่ประชาชนต้องปรับตัวทั้งตอนเฟื่องฟูไปด้วยวัฒนธรรมจากต่างประเทศที่เข้ามาซื้อขายของและรับราชการในอาณาจักร ทั้ง ยุโรบ จีน ญี่ปุ่น อาหรับ และพระพุทธศาสนาที่เป็นศูนย์รวมจิตใจ และในยามสงครามที่ต้องจำกัดในเรื่องอาหารและความปลอดภัย
โดยในยุคธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็คล้ายกันกับช่วงอยุธยาแต่ว่าอาจจพเบาบางในเรื่องการรุกรานจากต่างเมืองไปบ้าง แต่การศึกสงครามก็ยังมีอยู่บ้าง มีเวลาให้พักผ่อนร้องรำทำเพลงเหมือนในตอนนี้ที่มีเครื่องเสียง แต่ตอนนั้นก็ชมมหรสพกัน
ในช่วงต่อมาของยุครัตนโกสินทร์ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านทรงให้ประชาชนเข้าใกล้ท่านได้มากขึ้น สามารถให้ชนชั้นกลางมีบทบาทในการรับราชการ
ทางด้านเศรษฐกิจก็มีข้าวขึ้นมาเป็นสินค้าหลัก พัฒนาระบบเกษตรกรรมและชลประทานเ เกิดโรงสีข้าวแบบสมัยใหม่ขึ้นโดยชาวจีนเป็นผู้ดำเนินงาน การคมนาคมต่าง ๆ เอื้ออำนวยต่อการค้าขายมากยิ่งขึ้น สังคมเมืองขยายออกไปยังพื้นที่รอบ ๆ ทำให้เศรษฐกิจมีมิติมากยิ่งขึ้น
ทางด้านวิถีชีวิตได้ปรับตัวเข้าสู่สากล ทั้งการแต่งกาย อาหารการกิน มีการใช้อุปกรณ์เช่น ช้อน ซ้อม เข้ามาแทนการใช้มือ การศึกษาเริ่มเป็นที่กว้างขวางในหมู่ประชาชนมากยิ่งขึ้น เครื่องอำนวยความสะดวกอย่าง วิทยุ เครื่องเสียง เริ่มเข้ามา
ในช่วงการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่ในปี พ.ศ. 2475 เรื่อยมากระทั่งปัจจุบัน การปกครองเปลี่ยนเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
เกิดโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ประชาชนจากจังหวัดต่าง ๆ ได้เดินทางเข้ามาในเมืองหลวงเพื่อทำงานมากขึ้น มีการติดต่อซื้อขายกับต่างประเทศในรูปแบบบริษัท มีเสรีด้านการค้าให้กับเอกชน
วิถีชีวิตและความเป็นอยู่เรียกได้ว่าเปิดรับจากต่างประเทศเข้ามามากมาย มีสื่อต่าง ๆ ที่คอยถ่ายทอดแนวคิด และความบันเทิง ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ เครื่องเสียง ความเท่าเทียมในเรื่องสิทธิเสรีภาพมากขึ้น แต่ความเลื่อมล้ำเรื่องรายได้ยังคงมีอยู่ และนี่ก็คือเรื่องราวคร่าว ๆ ของความเป็นอยู่ในยุคสมัยต่าง ๆ ของคนไทย จะเห็นได้ว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความสามัคคีของคนในชาติที่จะนำพาประเทศไทยไปในทางที่ดีขึ้น